analyticstracking
หัวข้อ   “ คนไทยไปไหน...หลังผ่อนคลายมาตรการหยุดเชื้อเพื่อชาติ
คนไทยส่วนใหญ่ร้อยละ 83.1 ได้ไปตลาด ตลาดนัด มากที่สุดหลังมาตรการหยุดเชื้อเพื่อชาติได้รับการผ่อนปรน
รองลงมาร้อยละ 44.8 ได้ไปห้างสรรพสินค้า
ส่วนสถานที่ที่ไม่คิดว่าจะไปเพราะกังวลการติดเชื้อมากที่สุดคือ โรงภาพยนตร์ คิดเป็นร้อยละ 91.1
หากมีมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศช่วงเดือน ก.ค. – ต.ค. 63
ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 51.8 อยากให้แจกเงินแบบให้เปล่า
รองลงมาร้อยละ 24.1 อยากเอาใบเสร็จท่องเที่ยวมาลดหย่อนภาษี
ประชาชนร้อยละ 46.6 อยากให้การหยุดชดเชยแทนวันสงกรานต์ไปรวมกับวันหยุดยาวในช่วงเทศกาลปีใหม่เลย
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ดำเนินการสำรวจ
ความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “คนไทยไปไหน...หลังผ่อนคลายมาตรการหยุดเชื้อ
เพื่อชาติ” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,204 คน
พบว่า
 
                  สถานที่ที่ประชาชนได้ไปมากที่สุดภายหลังมาตรการหยุดเชื้อ
เพื่อชาติได้รับการผ่อนปรนคือ ตลาด ตลาดนัด ซุปเปอร์มาร์เก็ต (ร้อยละ 83.1)

รองลงมาคือ ห้างสรรพสินค้า (ร้อยละ 44.8) และร้านเสริมสวย ร้านตัดผม (ร้อยละ 40.1)
ส่วนสถานที่ที่ประชาชนไม่คิดว่าจะไปเพราะกังวลการติดเชื้อมากที่สุดคือ
โรงภาพยนตร์ (ร้อยละ 91.1)
รองลงมาคือ การใช้สนามบินภายในประเทศ (ร้อยละ
83.8) และสถานเสริมความงาม (ร้อยละ 83.0)
 
                  เมื่อถามว่าอยากให้มีมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศ
ช่วงเดือน ก.ค. – ต.ค. 63 เป็นอย่างไรพบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 51.8 อยากให้
แจกเงินแบบให้เปล่า
รองลงมาร้อยละ 24.1 นำใบเสร็จค่าที่พัก ค่าอาหาร มาลดหย่อน
ภาษี และร้อยละ 21.2 ให้วอชเชอร์ส่วนลดที่พักร้านอาหาร
 
                  สุดท้ายเมื่อถามถึงความคาดหวังต่อการหยุดชดเชยแทนวันสงกรานต์พบว่า ประชาชนร้อยละ 46.6
คาดหวังอยากให้ไปรวมกับวันหยุดยาวในช่วงเทศกาลปีใหม่เลย
รองลงมาร้อยละ 33.3 คาดหวังให้หยุด ในช่วงเดือนที่
ไม่มีวันหยุดเลยเช่น เดือนกันยายน และร้อยละ 20.1 คาดหวังว่าจะหยุดยาวติดต่อกันไปเลย ในช่วงวันหยุดยาวช่วงใดช่วงหนึ่ง
 
 
                  โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถามดังต่อไปนี้
 
             1. สถานที่ที่ไปภายหลังมาตรการหยุดเชื้อเพื่อชาติได้รับการผ่อนปรน

สถานที่
ได้ไปมาแล้ว
(ร้อยละ)
ยังไม่ได้ไป
แต่คิดว่าจะไป
(ร้อยละ)
ไม่คิดว่าจะไปเพราะ
กังวลการติดเชื้อ
(ร้อยละ)
รวม (ร้อยละ)
ตลาด ตลาดนัด ซุปเปอร์มาร์เก็ต
83.1
9.0
7.9
100.0
ห้างสรรพสินค้า
44.8
24.9
30.3
100.0
ร้านเสริมสวย ร้านตัดผม
40.1
30.0
29.9
100.0
กินข้าวตามร้านอาหาร
32.9
23.1
44.0
100.0
สนามกีฬากลางแจ้ง สถานที่ออกกำลังกาย ฟิตเนส
14.8
17.7
67.5
100.0
ท่องเที่ยวต่างจังหวัด ทะเล ภูเขา น้ำตก
5.9
30.4
63.7
100.0
สถานเสริมความงาม
3.0
14.0
83.0
100.0
สถานบริการ สปา ร้านนวด
1.6
16.9
81.5
100.0
การใช้สนามบินภายในประเทศ
1.5
14.7
83.8
100.0
โรงภาพยนตร์
0.4
8.5
91.1
100.0
 
 
             2. ข้อคำถาม “อยากให้มีมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศช่วงเดือน
                  ก.ค. – ต.ค. 63 เป็นอย่างไร”

 
ร้อยละ
แจกเงินแบบให้เปล่า
51.8
นำใบเสร็จค่าที่พัก ค่าอาหาร มาลดหย่อนภาษี
24.1
ให้วอชเชอร์ส่วนลดที่พักร้านอาหาร
21.2
แจกเงิน 1,000 ไปเที่ยวจังหวัดที่ลงทะเบียนไว้แบบชิม ช้อป ใช้
19.2
อื่นๆ อาทิเช่น ไม่ควรแจกเงิน ไม่มีความเห็น
9.6
 
 
             3. ความคาดหวังต่อการหยุดชดเชยแทนวันสงกรานต์

 
ร้อยละ
คาดหวังอยากให้ไปรวมกับวันหยุดยาวในช่วงเทศกาลปีใหม่เลย
46.6
คาดหวังให้หยุด ในช่วงเดือนที่ไม่มีวันหยุดเลยเช่น เดือนกันยายน
33.3
คาดหวังว่าจะหยุดยาวติดต่อกันไปเลย ในช่วงวันหยุดยาวช่วงใดช่วงหนึ่ง
20.1
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์การสำรวจ:
                  1) เพื่อต้องการทราบถึงสถานที่ที่ได้ไปภายหลังมาตรการหยุดเชื้อเพื่อชาติ ได้รับการผ่อนปรน
                  2) เพื่อสะท้อนถึงมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศช่วงเดือน ก.ค. – ต.ค. 63 ที่อยากให้เป็น
                  3) เพื่อสะท้อนถึงความคาดหวังต่อการหยุดชดเชยแทนวันสงกรานต์
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่ม
สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling)
แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
เป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้น
ได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 8 - 10 มิถุนายน 2563
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 13 มิถุนายน 2563
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
579
48.1
             หญิง
625
51.9
รวม
1,204
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
88
7.3
             31 – 40 ปี
158
13.1
             41 – 50 ปี
321
26.7
             51 – 60 ปี
334
27.7
             61 ปีขึ้นไป
303
25.2
รวม
1,204
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
698
58.0
             ปริญญาตรี
382
31.7
             สูงกว่าปริญญาตรี
124
10.3
รวม
1,204
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
140
11.6
             ลูกจ้างเอกชน
263
21.8
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
424
35.3
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
70
5.8
             ทำงานให้ครอบครัว
3
0.2
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
248
20.6
             นักเรียน/ นักศึกษา
23
1.9
             ว่างงาน/ รวมกลุ่ม
33
2.8
รวม
1,204
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 02-407-3888 ต่อ 2898