analyticstracking
หัวข้อ   “ ปีใหม่…กับท่องเที่ยววิถีใหม่ของคนไทย
คนไทยส่วนใหญ่ร้อยละ 51.9 มีแผนเดินทางในช่วงหยุดยาวปีใหม่
โดยจะไปเข้าวัดทำบุญ สวดมนต์ข้ามปี และจะกลับไปจังหวัดบ้านเกิด / เยี่ยมญาติ
ร้อยละ 43.6 เห็นว่าการแพร่ระบาด COVID-19 มีผลต่อการออกมาท่องเที่ยวระดับปานกลาง
ส่วนใหญ่ร้อยละ 66.2 จะใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาในทุกที่ๆ ไปเที่ยว เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด COVID-19
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ดำเนินการสำรวจ
ความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “ปีใหม่…กับท่องเที่ยววิถีใหม่ของคนไทย” โดยเก็บ
ข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,184 คน พบว่า ประชาชน
ส่วนใหญ่ร้อยละ 51.9 มีแผนที่จะเดินทางในช่วงหยุดยาวปีใหม่ที่จะถึงนี้ โดยใน
จำนวนนี้ ร้อยละ 37.4 จะไปเข้าวัดทำบุญ สวดมนต์ข้ามปี รองลงมาร้อยละ 17.9
จะกลับไปจังหวัดบ้านเกิด / เยี่ยมญาติ และร้อยละ 15.1 จะเที่ยว ช้อปปิ้ง กินข้าว
ตามร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า
ขณะที่ร้อยละ 48.1 ไม่มีแผนที่จะเดินทาง
 
                  เมื่อถามว่าการแพร่ระบาด COVID-19 ในช่วงท่องเที่ยวปีใหม่
ที่จะถึงนี้ มีผลต่อการออกมาท่องเที่ยวมากน้อยเพียงใด ประชาชนร้อยละ 43.6
เห็นว่ามีผลต่อการออกมาท่องเที่ยวระดับปานกลาง
ขณะที่ร้อยละ 38.3 เห็นว่ามีผล
ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ส่วนร้อยละ 18.1 เห็นว่ามีผลค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
 
                 ทั้งนี้เมื่อถามว่าการแพร่ระบาด COVID-19 ทำให้ปรับแผนการ
ท่องเที่ยวอย่างไร ส่วนใหญ่ร้อยละ 66.2 จะใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาใน
ทุกที่ๆ ไปเที่ยว
รองลงมาร้อยละ 53.0 จะไม่ไปสถานที่ท่องเที่ยวที่มีคนหนาแน่นเกินไป
ร้อยละ 51.2 จะหลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยง ร้อยละ 41.1 จะพกเจลแอลกอฮอล์ ล้างมือในทุกที่ๆ ไปเที่ยว และ
ร้อยละ 31.9 จะลงทะเบียน ไทยชนะ ทุกสถานที่ ท่องเที่ยวที่ไป
 
 
                  รายละเอียดตามประเด็นข้อคำถามดังต่อไปนี้
 
             1. ข้อคำถาม “มีแผนที่จะทำอะไร ในช่วงหยุดยาวปีใหม่ที่จะถึงนี้ (31 ธ.ค. – 3 ม.ค.)”

 
ร้อยละ
มีแผนที่จะเดินทาง โดย
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)    
จะไปเข้าวัดทำบุญ สวดมนต์ข้ามปี ร้อยละ 37.4
     จะกลับไปจังหวัดบ้านเกิด / เยี่ยมญาติ ร้อยละ 17.9
      จะเที่ยว ช้อปปิ้ง กินข้าว ตามร้านอาหาร
ห้างสรรพสินค้า
ร้อยละ
15.1
     จะไปท่องเที่ยวต่างจังหวัด ร้อยละ 8.1
      จะไป เคาท์ดาวน์ปีใหม่ 2021 ร้อยละ 6.0
     จะไปต่างประเทศ ร้อยละ 0.1
51.9
ไม่มีแผนที่จะเดินทาง
48.1
 
 
             2. การแพร่ระบาด COVID-19 ในช่วงท่องเที่ยวปีใหม่ที่จะถึงนี้ มีผลต่อการ
                 ออกมาท่องเที่ยวมากน้อยเพียงใด


 
ร้อยละ
ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
(โดยแบ่งเป็นค่อนข้างมากร้อยละ 27.6 และมากที่สุดร้อยละ 10.7)
38.3
ปานกลาง
43.6
ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
(โดยแบ่งเป็นค่อนข้างน้อยร้อยละ 12.4 และน้อยที่สุดร้อยละ 5.7)
18.1
 
 
             3. ข้อคำถาม “การแพร่ระบาด COVID-19 ทำให้ปรับแผนการท่องเที่ยวอย่างไร”
                  (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)


 
ร้อยละ
ใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาในทุกที่ๆ ไปเที่ยว
66.2
ไม่ไปสถานที่ท่องเที่ยวที่มีคนหนาแน่นเกินไป
53.0
หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยง
51.2
พกเจลแอลกอฮอล์ล้างมือในทุกที่ๆ ไปเที่ยว
41.1
ลงทะเบียน ไทยชนะ ทุกสถานที่ท่องเที่ยวที่ไป
31.9
อื่นๆ อาทิเช่น ไอยู่บ้านไม่ออกไปไหน ต้องทำงาน
15.9
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์การสำรวจ:
                  1) เพื่อสะท้อนถึงการวางแผนที่จะไปท่องเที่ยวเมืองไทย ในช่วงหยุดยาวปีใหม่
                  2) เพื่อสะท้อนถึงการแพร่ระบาด COVID-19 ในช่วงท่องเที่ยวปีใหม่ที่จะถึงนี้ มีผลต่อการออกมาท่องเที่ยว
                       มากน้อยเพียงใด
                  3) เพื่อต้องการทราบเกี่ยวกับการแพร่ระบาด COVID-19 ทำให้ปรับแผนการท่องเที่ยวอย่างไร
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่ม
สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling)
แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
เป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้น
ได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 14 – 16 ธันวาคม 2563
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 30 ธันวาคม 2563
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
539
45.5
             หญิง
645
54.5
รวม
1,184
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
79
6.7
             31 – 40 ปี
191
16.1
             41 – 50 ปี
329
27.8
             51 – 60 ปี
317
26.8
             61 ปีขึ้นไป
268
22.6
รวม
1,184
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
747
63.1
             ปริญญาตรี
335
28.3
             สูงกว่าปริญญาตรี
102
8.6
รวม
1,184
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
155
13.1
             ลูกจ้างเอกชน
229
19.3
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
474
40.0
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
66
5.6
             ทำงานให้ครอบครัว
9
0.8
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
209
17.7
             นักเรียน/ นักศึกษา
12
1.0
             ว่างงาน/ รวมกลุ่ม
30
2.5
รวม
1,184
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 02-407-3888 ต่อ 2898