analyticstracking
หัวข้อหัวอกของพ่อค้าแม่ค้าช่วงเทศกาลกินเจ
พ่อค้าแม่ค้า 58.0% ระบุต้นทุนวัตถุดิบ/อาหารเจสูงกว่าปีที่แล้ว
52.9% จะขายของดีในช่วง 3 วันแรกของเทศกาลกินเจ
69.6% ระบุการมีอาหารเจขายในร้านสะดวกซื้อ ซุปเปอร์มาร์เก็ต ไม่ส่งผลกระทบกับยอดขาย
เห็นด้วยที่กรมการค้าภายในจับตาราคาผักแพง เพราะลูกค้าจะได้มีกำลังซื้อ แต่ถ้าขายถูกกลัวขาดทุน
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                  เนื่องด้วยช่วงวันที่ 1-9 ตุลาคมนี้ เป็นช่วงเทศกาลกินเจ กรุงเทพโพลล์
โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ จึงสำรวจความคิดเห็นของพ่อค้าแม่ค้า เรื่อง
“หัวอกของพ่อค้าแม่ค้าช่วงเทศกาลกินเจ” โดยเก็บข้อมูล เฉพาะพ่อค้า แม่ค้า
ที่ขายอาหารเจและวัตถุดิบเพื่อนำไปประกอบอาหารเจ ตามตลาดสดหลายแห่งใน
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีผลสำรวจดังนี้
 
                  การเตรียมของสำหรับค้าขายในช่วงเทศกาลกินเจในปีนี้ พ่อค้า
แม่ค้าส่วนใหญ่ ร้อยละ 60.2 ระบุว่า เตรียมของไว้ขายพอๆกับปีที่แล้ว เพราะ
มีลูกค้าประจำ เศรษฐกิจไม่ดี และไม่มั่นใจในกำลังซื้อของลูกค้า
รองลงมาร้อยละ
33.2 ระบุว่า เตรียมของไว้น้อยกว่าปีที่แล้ว เพราะเศรษฐกิจไม่ดี ไม่อยากลงทุนเยอะ
และฝนตกบ่อยไม่ค่อยมีคนซื้อ และร้อยละ 6.6 ระบุว่า เตรียมไว้เยอะกว่าปีที่แล้ว เพราะ
ปีที่แล้วไม่พอขาย คนหันมากินเจเยอะขึ้น และช่วงต้นเดือนลูกค้ามีกำลังซื้อ
 
                  ทั้งนี้พ่อค้าแม่ค้าส่วนใหญ่ร้อยละ 58.0 ระบุว่าต้นทุนราคาวัตถุดิบ
/อาหารเจสูงขึ้นกว่าปีที่แล้ว
รองลงมาร้อยละ 40.0 ระบุว่า ต้นทุนเท่าเดิม มีเพียงร้อยละ
2.0 เท่านั้นที่ระบุว่าต้นทุนลดลง
 
                  สำหรับการขายอาหารเจในปีนี้นั้น พ่อค้าแม่ค้าร้อยละ 34.9 ระบุว่า น่าจะขายได้น้อยกว่าปีที่แล้ว
รองลงมาร้อยละ 26.8 ระบุว่า น่าจะขายได้พอๆกับปีที่แล้ว และมีเพียงร้อยละ 7.9 เท่านั้นที่ระบุว่า น่าจะขายดีกว่า
 
                  ส่วนวันที่คาดว่าจะขายดีที่สุดในช่วงเทศกาลกินเจ พ่อค้าแม่ค้าส่วนใหญ่ร้อยละ 52.9 ระบุว่าอยู่ใน
ช่วง 3 วันแรกของเทศกาลกินเจ
รองลงมาร้อยละ 24.3 ระบุว่า ขายดีตลอดช่วงเทศกาล และร้อยละ 17.7 ระบุว่าอยู่ใน
ช่วง 5 วันแรกของเทศกาล โดยพ่อค้าแม่ค้าส่วนใหญ่ ร้อยละ 80.3 ระบุว่าปัจจุบันลูกค้ามักซื้ออาหารเจที่ปรุงสำเร็จ
จากร้านขายอาหารเจ
รองลงมาร้อยละ 31.7 ระบุว่าลูกค้ามักซื้อวัตถุดิบเพื่อไปทำอาหารเจทานเอง และร้อยละ 28.5 ระบุ
ว่าลูกค้ามักซื้อจากร้านสะดวกซื้อและซุปเปอร์มาร์เก็ต(เช่น 7-11 บิ๊กซี โลตัส ฯลฯ)
 
                  เมื่อถามต่อว่าการที่ร้านสะดวกซื้อและซุปเปอร์มาร์เก็ตต่างๆ หันมาขายวัตถุดิบและอาหารเจ ในช่วง
เทศกาลกินเจ จะส่งผลกระทบต่อยอดขายหรือไม่ พ่อค้าแม่ค้าส่วนใหญ่ร้อยละ 69.6 ระบุว่า ไม่ส่งผลกระทบต่อ
ยอดขาย
ขณะที่ร้อยละ 30.4 ระบุว่า ส่งผลกระทบต่อยอดขาย
 
                  อย่างไรก็ดีพ่อค้าแม่ค้าส่วนใหญ่ร้อยละ 60.0 ระบุว่าสินค้าที่ร้านมีข้อดีตรง “สด/ใหม่กว่า”
ร้านสะดวกซื้อและซุปเปอร์มาร์เก็ต
รองลงมาร้อยละ 20.1 มีข้อดีตรง “ถูกกว่า” และร้อยละ 12.5 มีข้อดีตรง
“หลากหลายกว่า”
 
                  ด้านความเห็นต่อการที่กระทรวงพาณิชย์สั่งการให้กรมการค้าภายในจับตาราคาผักแพง รับเทศกาล
กินเจ พ่อค้าแม่ค้าร้อยละ 37.0 เห็นว่า ราคาอาหารเจจะได้ไม่สูงมากลูกค้าจะได้มีกำลังซื้อ
รองลงมาร้อยละ 31.4
เห็นว่า รับมาแพงจะให้ขายถูกกลัวขาดทุน และร้อยละ 29.3 เห็นว่าไม่ควรเน้นที่ราคาผักอย่างเดียวแต่ควรดูราคาสินค้าเจ
ประเภทอื่นๆด้วย
 
 
                  โดยมีรายละเอียดดังนี้
 
             1. การเตรียมการสำหรับค้าขายวัตถุดิบและอาหารเจ ให้ลูกค้าในช่วงเทศกาลกินเจในปีนี้

 
ร้อยละ
เตรียมไว้เยอะกว่าปีที่แล้ว
   เพราะ ปีที่แล้วไม่พอขาย คนหันมากินเจเยอะขึ้น และช่วงต้นเดือนลูกค้ามีกำลังซื้อ เป็นต้น

6.6
เตรียมไว้พอๆกับปีที่แล้ว
    เพราะ มีลูกค้าประจำอยู่แล้ว เศรษฐกิจไม่ดี และไม่มั่นใจในกำลังซื้อของลูกค้า เป็นต้น

60.2
เตรียมไว้น้อยกว่าปีที่แล้ว
    เพราะ เศรษฐกิจไม่ดี ไม่อยากลงทุนเยอะ และฝนตกบ่อยไม่ค่อยมีคนซื้อ เป็นต้น
33.2
 
 
             2. ต้นทุนราคาวัตถุดิบ/อาหารเจในเทศกาลกินเจปีนี้เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว

 
ร้อยละ
ต้นทุนสูงขึ้น
58.0
ต้นทุนเท่าเดิม
40.0
ต้นทุนลดลง
2.0
 
 
             3. คาดการณ์การค้าขายอาหารเจในปีนี้เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว

 
ร้อยละ
น่าจะขายดีกว่าปีที่แล้ว
7.9
น่าจะขายได้พอๆกับปีที่แล้ว
26.8
น่าจะขายได้น้อยกว่าปีที่แล้ว
34.9
ไม่แน่ใจ
30.4
 
 
             4. วันที่คาดว่าจะขายดีที่สุดในช่วงเทศกาลกินเจ

 
ร้อยละ
ช่วง 3 วันแรก
52.9
ขายดีตลอดช่วงเทศกาล
24.3
ช่วง 5 วันแรก
17.7
ช่วง 7 วันแรก
3.2
ช่วง 5 วัน สุดท้าย
1.2
ช่วง 3 วัน สุดท้าย
0.7
 
 
             5. ความเห็นต่อพฤติกรรมการซื้ออาหารเจของลูกค้าในปัจจุบัน

 
ร้อยละ
ซื้อจากร้านอาหารเจ/กับข้าวเจสำเร็จ
80.3
ซื้อวัตถุดิบเพื่อไปทำกินเอง
31.7
ซื้อจากร้านสะดวกซื้อและซุปเปอร์มาร์เก็ต(เช่น 7-11,บิ๊กซี, โลตัส ฯลฯ)
28.5
สั่งซื้อออนไลน์
1.7
 
 
             6. ความเห็นต่อการที่ร้านสะดวกซื้อและซุปเปอร์มาร์เก็ต (7-11,บิ๊กซี,โลตัส) หันมาขายวัตถุดิบ
                 และอาหารเจ ในช่วงเทศกาลกินเจ จะส่งผลกระทบต่อยอดขายหรือไม่

 
ร้อยละ
ไม่ส่งผลกระทบต่อยอดขาย
69.6
ส่งผลกระทบต่อยอดขาย
30.4
 
 
             7. เมื่อถามว่า “สินค้าของที่ร้านมีข้อดีอะไรเมื่อเทียบกับสินค้าจาก ร้านสะดวกซื้อและซุปเปอร์มาร์เก็ต
                 (7-11, บิ๊กซี, โลตัส)”

 
ร้อยละ
สด/ใหม่กว่า
60.0
ถูกกว่า
20.1
หลากหลายกว่า
12.5
อร่อยกว่า
7.4
 
 
             8. ความเห็นต่อการที่กระทรวงพาณิชย์สั่งการให้กรมการค้าภายในจับตาราคาผักแพงรับเทศกาลกินเจ

 
ร้อยละ
ราคาอาหารเจจะได้ไม่สูงมากลูกค้าจะได้มีกำลังซื้อ
37.0
รับมาแพงจะให้ขายถูกกลัวขาดทุน
31.4
ไม่ควรเน้นที่ราคาผักอย่างเดียวแต่ควรดูราคาสินค้าเจประเภทอื่นๆด้วย
29.3
ทำให้ได้กำไรลดลงในช่วงเทศกาลกินเจ
2.3
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  เพื่อสอบถามความคิดเห็นของพ่อค้าแม่ค้าที่ค้าขายอาหารเจและวัตถุดิบเพื่อนำไปประกอบอาหารเจ
เกี่ยวกับการเตรียมการสำหรับค้าขายในช่วงเทศกาลกินเจ พฤติกรรมการซื้ออาหารเจของลูกค้า และความเห็น
ต่อภาครัฐที่เข้ามาจับตาราคาผัก ในช่วงเทศกาลกินเจ ซึ่งผลสำรวจที่ได้จะช่วยสะท้อนมุมมองของประชาชนให้
สังคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบและนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจดำเนินนโยบายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างเฉพาะพ่อค้าแม่ค้าที่ค้าขายอาหารเจและวัตถุดิบเพื่อนำไปประกอบอาหารเจ
ตามตลาดสดหลายๆ แห่งในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling)
ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 407 คน
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  5% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                 ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน
ซึ่งเป็นข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด (Open Ended) จากนั้นคณะนักวิจัย
ได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 28 – 30 กันยายน 2559
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 1 ตุลาคม 2559
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
104
25.6
             หญิง
303
74.4
รวม
407
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
68
16.7
             31 – 40 ปี
86
21.1
             41 – 50 ปี
95
23.3
             51 – 60 ปี
111
27.4
             61 ปีขึ้นไป
47
11.5
รวม
407
100.0
ประเภทร้านค้า:
   
             ขายผัก
68
16.7
             ขายผลไม้
95
23.3
             ของแห้ง/วัตถุดิบทดแทนเนื้อสัตว์
81
19.9
             อาหารปรุงสุก/กับข้าวเจ
56
13.8
             ของทานเล่น/ของหวานเจ(อาทิ เผือกทอด เต้าหู้ทอด
             น้ำเต้าหู้ ฯลฯ)
107
26.3
รวม
407
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776