porno sex olgun porno porno rus porno แนะนำกรุงเทพโพลล์

แนะนำกรุงเทพโพลล์

ประวัติความเป็นมา
ปี 2545 ปี 2550 ปี 2551
ปี 2552 ปี 2556 ปี 2564
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) หรือ Bangkok University Research Center (Bangkok Poll)
เป็นหน่วยงานหนึ่งของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ หากมองย้อนไปในอดีตจุดเปลี่ยนที่สำคัญๆ ของกรุงเทพโพลล์
มีอยู่ 3 ช่วงเวลาด้วยกัน
www.romhemder.org

ช่วงแรกในปี 2537 มหาวิทยาลัยกรุงเทพในฐานะของสถาบันอุดมศึกษาที่มีภาระหน้าที่ในการให้บริการ
ทางด้านวิจัยและวิชาการแก่สังคม เล็งเห็นว่าสังคมไทยควรมีการสำรวจวิจัยความคิดเห็นของประชาชน
ในประเด็นต่างๆ ทั้งทางด้านการเมือง สังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมประเพณี เพื่อสะท้อนความคิดเห็น
ของประชาชนในสังคมระบอบประชาธิปไตยไปยังรัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ด้วยเหตุผลดังกล่าว
มหาวิทยาลัยกรุงเทพจึงมีการริเริ่มก่อตั้งศูนย์วิจัยที่มีภาระหน้าที่ในการวิจัยสำรวจความคิดเห็นประชาชน
โดยใช้ชื่อว่า “กรุงเทพโพลล์” โดยมี ดร.สุพงษ์ ลิ้มธนากุล เป็นผู้ก่อตั้ง

ช่วงที่สองในปี 2545 ด้วยบทบาทของกรุงเทพโพลล์ที่มีต่อสังคมมากขึ้นตามลำดับและเพื่อให้การ
บริหารจัดการมีประสิทธิภาพสามารถสร้างสรรค์งานวิจัยให้กับสังคมได้มากยิ่งขึ้น มหาวิทยาลัย
กรุงเทพจึงได้จัดตั้งสถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2545และกำหนดให้
ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์เป็นหน่วยงานหนึ่งในสังกัด

ช่วงที่สามในปี 2552 มหาวิทยาลัยกรุงเทพเห็นว่าการให้บริการวิชาการแก่สังคมของศูนย์วิจัย
กรุงเทพโพลล์ที่มีเพิ่มขึ้นตามลำดับ โดยครอบคลุมต่อความต้องการของประชาชน หน่วยงานภาครัฐ
หน่วยงานภาคเอกชน และสื่อมวลชน อย่างกว้างขวาง และเพื่อข้อมูลงานวิจัยจะเกิดประโยชน์ต่อการ
พัฒนาองค์กรและประเทศชาติมากยิ่งขึ้น จึงเปลี่ยนชื่อจากศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ เป็นศูนย์วิจัย
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2552

ปัจจุบัน ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) ได้ผลิตงานวิจัยในรูปแบบของผลสำรวจโพลล์
กับประชาชนครอบคลุมประเด็นทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมประเพณี รวมถึง
ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญอย่างนักเศรษฐศาสตร์ในประเด็นด้านเศรษฐกิจ รวมกว่า 950 เรื่อง
นอกจากนี้ยังได้ให้บริการวิจัยที่ไม่ขัดต่อศีลธรรม จรรยา กับหน่วยงานภายนอกทั้งหน่วยงานภาครัฐ
ภาคเอกชน และองค์กรไม่แสวงหากำไร เพื่อข้อมูลจากการวิจัยจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนและ
ประเทศชาติต่อไป
วิสัยทัศน์
เป็นศูนย์โพลล์ชั้นนำ มีความเป็นสากล น่าเชื่อถือเป็นที่ยอมรับ สะท้อนเสียงประชาชนเพื่อปฏิรูปเศรษฐกิจและสังคมไทย

พันธกิจ
  1. ผลิตงานวิจัยเชิงสำรวจที่มีความเที่ยงตรง เป็นกลาง สร้างสรรค์ ทันสมัย ในด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง
    เผยแพร่สู่สาธารณชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัยกรุงเทพในนาม “กรุงเทพโพลล์”
  2. ให้บริการด้านการวิจัยเชิงสำรวจแก่หน่วยงานภาครัฐและเอกชนในรูปของการว่าจ้างที่ไม่ขัดต่อศีลธรรมจรรยา
    และไม่ทำให้เสียจุดยืนเรื่องความเป็นกลางทางการเมือง เพื่อสร้างรายได้ให้กับมหาวิทยาลัย
นโยบายการดำเนินงาน
  1. ดำเนินงานสำรวจความคิดเห็นในเรื่องปัจจุบันที่เป็นที่สนใจและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ
  2. สร้างและพัฒนาทีมงานวิจัยเชิงสำรวจที่มีคุณภาพและมีจรรยาบรรณ
  3. ใช้กระบวนการสำรวจที่ได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย
  4. สร้างผลการสำรวจที่สะท้อนข้อมูลความคิดเห็นที่แท้จริงของกลุ่มประชากร
  5. ผลการสำรวจสามารถพยากรณ์ได้อย่างแม่นยำ รวดเร็ว และเชื่อถือได้
  6. ข้อมูลสามารถใช้เป็นดัชนีชี้นำในการตัดสินใจแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  7. เผยแพร่ผลงานสู่สาธารณชนอย่างทั่วถึงและสม่ำเสมอ
  8. ร่วมเป็นพันธมิตรกับเครือข่ายวิจัยและองค์กรที่เกี่ยวข้อง
  9. สนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนตามระบอบประชาธิปไตย
  10. เปิดโอกาสให้นักศึกษาของมหาวิทยาลัยและนิสิตนักศึกษาทั่วไปมีโอกาสได้ร่วมฝึกฝนทักษะด้านการวิจัยเชิง
    สำรวจ
งบประมาณในการสำรวจ
การดำเนินงานสำรวจโพลล์ทุกเรื่องที่เผยแพร่สู่สาธารณชนได้รับงบประมาณสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ

ผลงานที่ผ่านมา
ศักยภาพ ความพร้อม และประสบการณ์ตลอด 20 ปีของศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) สะท้อนให้เห็น
ได้จากผลงานสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในเรื่องสำคัญๆ กว่า 950 เรื่อง ครอบคลุมทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และ
การเมือง ซึ่งหลายหน่วยงานได้นำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจกำหนดแนวทางการดำเนินงาน การจัดกิจกรรม
โครงการต่างๆ และการปรับปรุงภารกิจหน้าที่ให้เหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการของประชาชน อาทิ การประเมิน
ผลงานผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร การประเมินผลงานรัฐบาล คะแนนนิยมนายกรัฐมนตรีและพรรคการเมือง นำเสนอความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์จากองค์กรชั้นนำ
ของประเทศ การสำรวจความคิดเห็นและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติต่อการเดินทางมาเที่ยวเมืองไทย
การสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในหัวข้อที่สุดแห่งปี